ข้อกฎหมาย

หนองหารในด้านกฎหมาย

    หนองหารเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งบำรุงรักษาพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ แล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำดิบท่ีใช้ในการทำน้ำประปาเพื่อใช้อุปโภคบริโภคของแหล่งชุมชนที่อยู่รอบๆหนองหารอีกด้วย โดยเฉพาะการประปาส่วนภูมิภาคท่ีผลิตน้ำประปาเพื่อใช้สอยในตัวจังหวัดสกลนคร นอกจากน้ียังเป็นแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรกรรมในพื้นที่ชุมชนรอบหนองหาร อันเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันหนองหารมิใช่เพียงแต่เป็นแหล่งอาหารด้านสัตว์น้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งน้ำท่ีสำคัญในด้านการผลิตน้ำประปาและด้านเกษตรกรรมอีกด้วย ซึ่งหนองหารมีพัฒนาการด้านกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อําเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484
    ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 วางหลักกฎหมายไว้ว่า
    มาตรา 3 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้
    มาตรา 4 ให้หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเขตต์ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ไว้ เพื่อประโยชน์ในการบำรุงพันธ์ุสัตว์น้ำ
    ห้ามมิให้ผู้ใด เข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใดๆในที่ดินนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 
    มาตรา 4 ถ้ารัฐบาลต้องการจะหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ให้ดำเนินการหวงห้ามตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
    มาตรา 5 การหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้ออกเป็นพระราช กฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุ
       (1) ความประสงค์ที่หวงห้าม
       (2) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้าม
       (3) ที่ดินซึ่งกำหนดว่าต้องหวงห้าม
       ให้มีแผนที่แสดงเขตที่ดินดังกล่าวแล้วติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา แผนที่ที่กล่าวนี้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา แต่ในกรณีหวงห้ามที่ดินริมทางหลวงนั้นจะกําหนดเขตที่ดินซึ่งหวงห้ามนับจากเส้นกลางทางหลวงออกไป เป็นระยะทางดั่งจะได้กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาก็ได้
3. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พุทธศักราช 2484
    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้ได้มีกำหนด 5 ปี
    มาตรา 4 ให้อธิบดีกรมเกษตรและการประมงเป็นเจ้าหน้าที่จัดการเพื่อดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
    มาตรา 5 บริเวณที่ดินที่จะทำการสำรวจเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ตามแนวเขตต์ในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พุทธศักราช 2477
    มาตรา 5 อสังหาริมทรัพย์ซึ่งรัฐบาลต้องการเพื่อกิจการใดๆอันเป็นสาธารณูปโภค หรือเพื่อการเหมืองแร่นั้น เมื่อมิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
    มาตรา 6 เมื่อรัฐบาลได้ตกลงจะกระทำกิจการใดอันเกี่ยวแก่สาธารณูปโภค แต่ยังมิได้ทำการสำรวจที่ที่เจาะจงให้แน่นอนไซร้ จะได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่ที่คิดว่าจะเวนคืนนั้นขึ้นฉบับหน่ึง
    ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุ
          – ความประสงค์ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์
          – เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์
          – กำหนดเขตต์ที่ดินที่ต้องเวนคืน
    ให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตต์ที่ดินในบริเวณที่คิดว่าจะต้องเวนคืนและแสดงเขตต์ที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้นเป็นรายๆติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น แผนที่หรือแผนผังที่กล่าวมานี้ให้ถือว่าเป็นส่วนแห่งพระราชกฤษฎีกา
    พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านี้มีอายุสองปีหรือตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาน้ัน แต่ต้องไม่เกินห้าปีแล้วแต่จะเห็นว่าจำเป็นเพื่อทำการสำรวจที่ดินที่เจาะจงต้องเวนคืนน้ัน
    มาตรา 7 ภายในกำหนดอายุแห่งพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตราก่อน เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปกระทำกิจการใดๆในที่ดินซึ่งอยู่ภายในเขตต์ตามแผนที่เท่าที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อการสำรวจ แต่ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ปกครองทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับคำบอกกล่าวถึงกิจการที่ต้องกระทำไม่น้อยกว่าสามวันก่อนเริ่มกระทำกิจการน้ัน และชอบที่จะได้รับค่าทดแทนสำหรับความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่กระทำนั้น
    มาตรา 8 เมื่อได้กระทำการสำรวจที่ซึ่งต้องเวนคืนตลอดทั้งหมดหรือเฉพาะแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว ให้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และให้ระบุที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งนามเจ้าของหรือผู้ปกครองทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมาย
    ให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตต์ทรัพย์สินที่เวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังน้ันเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติน้ัน
    เขตที่ดินนั้นต้องปักหลักหมายเขตต์ไว้โดยชัดเจนก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติ
5. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
       มาตรา 4 ตั้งแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้ยกเลิก
6. พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478
       มาตรา 10 ที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว้างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 หรือตามกฎหมายอื่นอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับให้คงเป็นที่หวงห้ามต่อไป
7. ประมวลกฎหมายที่ดิน 2497

       มาตรา 8 บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอานาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าท่ีดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน

       มาตรา 8 ตรี ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อธิบดีอาจจัดให้มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเพื่อแสดงเขตไว้เป็นหลักฐาน
      แบบ หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      ที่ดินตามวรรคหนึ่งแปลงใดยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เขตของที่ดินดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักฐานของทางราชการ
8. กฎกระทรวง 2516 และ 2537

       ข้อที่ 1 ทบวงการเมืองผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะประสงค์จะให้มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินแปลงใดให้แสดงความประสงค์ต่ออธิบดี

       ข้อที่ 2 เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้อธิบดีจัดให้มีการสอบสวนและรังวัดทำแผนที่ตามวิธีการรังวัดเพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และประกาศการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ประชาชนทราบมีกำหนดสามสิบวัน โดยปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขาหนึ่งฉบับ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอท้องที่หรือที่ทำการเขตหนึ่งฉบับ ณ ที่ทำการกำนัน หนึ่งฉบับ และในบริเวณที่ดินนั้นหนึ่งฉบับ สำหรับในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับด้วย ในประกาศดังกล่าวให้มีแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่จะออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและกำหนดระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้เสียจะคัดค้านไว้ด้วย ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันประกาศ ถ้าไม่มีผู้คัดค้านให้ดำเนินการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงต่อไป
      ในกรณีที่มีผู้คัดค้านอธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้แล้วดำเนินการ ดังนี้
     (1) ในกรณีที่ผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินและไม่ไปใช้สิทธิทางศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คัดค้าน ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ หากผู้คัดค้านไปใช้สิทธิทางศาลให้รอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่คัดค้านจนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น
     (2) ในกรณีที่ผู้คัดค้านมีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้รอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่คัดค้านไว้ก่อน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบสิทธิในที่ดินของผู้คัดค้านว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าปรากฏว่าได้มาโดยไม่ชอบให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจสอบ และถ้าปรากฏว่าได้มาโดยชอบ ให้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบโดยเร็ว แล้วระงับการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนนั้น
9. ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขเสร็จที่ 14/2533 
      เรื่อง อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาหนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งได้มีความเห็นไว้ว่า นายอำเภอแห่งท้องที่นั้นจึงยังคงมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปที่จะดูแลรักษาที่ดินบริเวณ “หนองหาน” นี้อยู่ด้วย เท่าที่ไม่ขัดต่ออำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของกรมประมงตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ฉะนั้น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ “หนองหาน” จึงเป็นทั้งของกรมประมงและนายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินการรักษาดูแลด้วยกัน ตามขอบเขตและตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติของกฎหมายที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบอยู่ แต่ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินบริเวณ “หนองหาน” ของหน่วยงานดังกล่าวจะต้องเป็นการดำเนินการไปเพื่อปกป้องรักษาสภาพการใช้ที่ดินบริเวณนี้เพื่อการบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำหรือเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของประชาชนตามขอบเขตของวัตถุประสงค์ในการสงวนหวงห้ามที่ดินบริเวณนี้ไว้ เท่านั้น โดยไม่อาจอนุญาตให้บุคคลใดๆเข้าไปกระทำการใดๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณนี้เป็นประการอื่นที่แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ของการสงวนหวงห้ามไว้ หรือเป็นการขัดขวางต่อสภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชนได้แต่อย่างใด
10. หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง 2540
    สำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนครโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้ลงนามในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 เพื่อแสดงเขตของที่ดินหนองหาร ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 76,317 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา
11. พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558
     มาตรา 26 ให้มีคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ในจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมเจ้าท่า อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด นายอำเภอในเขตท้องที่ที่มีการประมง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสิบสามคน เป็นกรรมการ
     ให้ประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
     ในจังหวัดใดมีอาณาเขตติดต่อกับชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำโขง ให้มีผู้แทนกองทัพเรือเป็นกรรมการโดยตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
     มาตรา 28 คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (1) รวบรวมข้อเสนอแนะและเสนอแนวทางในการส่งเสริมอาชีพการประมง การจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาจัดทำนโยบายตามมาตรา 19(1)
     (2) พิจารณาและเสนอแนวทางในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาการประมง หรือการจัดการการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ในที่จับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบเสนอต่อรัฐมนตรี คณะกรรมการ หรืออธิบดี
     (3) ออกประกาศตามมาตรา 56 มาตรา 71 และมาตรา 77 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
     ดำเนินการอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย