หนองหาร ที่ตั้งและอาณาเขต หนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 107 องศา 6 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 104 องศา 8 ลิปดาตะวันออกถึง 104 องศา 18 ลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 158 เมตร ความกว้างประมาณ 7 กิโลเมตร ยาว 18 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งสิ้น 123 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตการปกครองเทศบาลเมืองสกลนคร กับอีก 10 ตำบล ของอำเภอเมืองสกลนครและอำเภอโพนนาแก้ว ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ตำบลธาตุนาเวง ตำบลเชียงเครือ ตำบลท่าแร่ ตำบลนาแก้ว ตำบลบ้านแป้น ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลม่วงลาย ตำบลเหล่าปอแดง และตำบลงิ้วด่อน
การศึกษาคุณภาพน้ำซึ่งผลต่อการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ และการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์ โดยตรวจวัดจาก อุณหภูมิของน้ำ ค่าการนำไฟฟ้า ความเค็ม ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และความโปร่งแสงของน้ำ
ดินตะกอนพื้นท้องน้ำมีความสำคัญต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำในการเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งรวบรวมอนุภาคสารอินทรีย์ และธาตุต่างๆ ที่ตกตะกอนและสะสมอยู่ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นท้องน้ำ และนำธาตุอาหารกลับคืนสู่มวลน้ำ
ดิวิชั่น (Division)
ชั้น (Class)
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ไฟลัม (Phylum)
ชั้น (Class)
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ไฟลัม (Phylum)
ชั้น (Class)
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)
ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางน้ำ ทำให้เกิดความแตกต่างในเชิงคุณภาพและปริมาณในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ปัจจัยด้านฤดูกาลและอุทกวิทยาของแหล่งน้ำ จะเป็นปัจจัยอีกด้านซึ่งส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพน้ำ รวมทั้งชนิดและปริมาณของทรัพยากรชีวภาพต่างๆ
อุทยานบัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่างๆ เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสกลนคร